ประวัติความเป็นมา

อาเซียนคืออะไรกันแน่ และก่อตั้งขึ้นมาทำไม


ที่มา:www.tamuang.net 

สัญลักษณ์อาเซียน
ธงอาเซียนธงอาเซียนแสดงถึงเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคี และพลวัตรหรือความเจริญก้าวหน้าของอาเซียน ผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงิน มีสัดส่วนเป็นความกว้าง 2ใน 3 ของความยาว กลางธงคือดวงตราอาเซียน ที่เป็นรูปมัดรวงข้าวสีเหลืองในพื้นวงกลมสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว10รวงที่มัดไว้ด้วยกัน หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาผู้ก่อตั้งอาเซียน ที่จะให้ประเทศสมาชิกทั้งหมด ผูกพันด้วยมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
วงกลมรอบรวงข้าว หมายถึง เอกภาพของอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและเสถียรภาพ
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง สัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง






อาเซียนคืออะไรกันแน่ และก่อตั้งขึ้นมาทำไม
อาเซียนคือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nation: ASEAN ) เป็นองค์กรระดับภูมิภาค ที่ก่อตั้งขึ้นมาตามปฏิญญาอาเซียน(ปฏิญญากรุงเทพฯ) ซึ่งลงนามที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ สิงหาคม 2510 โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าประเทศสมาชิกอาเซียน ในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม ยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่นและกับองค์กรระหว่างประเทศ การร่วมมือกันในด้านต่างๆ เหล่านี้จะทำให้อาเซียนแข็งแกร่ง แข่งขันบนเวทีโลกได้
สมาชิกร่วมก่อตั้งอาเซียนมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย โดยผู้แทนประเทศที่ร่วมลงนามคือ
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอินโดนีเซีย                                               
2. ตุล อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย                                                                  
3. นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์                                    
4. นายเอา ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสิงคโปร์                                        
5. พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศไทย

Did  you know?
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนคือ องค์กรสูงสุดที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายของอาเซียนโดยมีองค์ประชุมคือ ประมุขรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลของรัฐสมาชิก จัดการประชุมปีละ2ครั้ง และจัดประชุมเพิ่มได้หากมีเหตุผลจำเป็นประธานในที่ประชุมคือประธานอาเซียนในแต่ละปี ส่วนสถานที่ประชุมแล้วแต่รัฐสมาชิกจะตกลงกัน



ปัจจุบันสมาชิกของอาเซียนมีใครบ้าง
      ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิก 10 ประทศ โดยมี 5 ประเทศเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมามี บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ (พม่า) และ กัมพูชา ทยอยกันเข้าร่วมจนครบ 10 ประเทศ โดยมีเป้าหมายว่าจะเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558  
สิงหาคม พ.ศ.2510 ก่อตั้งอาเซียน โดย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย
มกราคม พ.ศ. 2527 บรูไนเข้าร่วมสมาชิก
กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิก
กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ลาวและเมียนมาร์ (พม่า) เข้าร่วมเป็นสมาชิก
เมษายน พ.ศ.2542 กัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิก

อาเซียน+3 และอาเซียน+6 คืออะไร?
อาเซียนบวก+คือ ความร่วมมืออย่างเป็นทางการในด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศคู้เจรจา 3ประเทศใหญ่คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ส่วน อาเซียน+6 มีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย เพิ่มเข้ามาอีก 3ประเทศ ซึ่งทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีตลาดใหญ่ตามลำดับ

                        

www.ias.cmru.ac.th kus.kps.ku.ac.th                                        kus.kps.ku.ac.th 

Did you know?
กรอบปฏิบัติอาเซียน เรียกว่า กฎบัตรอาเซียน(ASEAN Charter) เริ่มใช่เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นเอกสารที่เทียบได้กับธรรมนูญการปกครองมีรายละเอียดระบุโครงสร้างองค์กรและหลักปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งเรื่องการสร้างประชาคมอาเซียนด้วย

อาเซียนร่วมใจ

Free Clock

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น