ประชาคมอาเซียนคืออะไร

ประชาคมอาเซียนคืออะไร
       นับจากก่อตั้งอาเซียนขึ้นมา ประเทศสมาชิกก็ได้ร่วมมือกันในด้านต่างๆ มากมายแต่ยังไม่เหนียวแน่นหรือเข้มแข็งพอมากจะก้าวสู่เวทีโลกได้ ดังนั้น อาเซียนจำเป็นจะต้องจัดตั้งประชาคมขึ้นมา เพื่อให้ประเทศสมาชิกมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีความพร้อมในทุกด้าน มีความสามารถในการแข่งขันสูง โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ในปี พ.ศ. 2546 ผู้นำอาเซียนตกลงกันว่าจะสร้างประชาคมให้สำเร็จในปี พ.ศ. 2563 ต่อมาในการประชุมเมื่อปี พ.ศ. 2550 ได้กำหนดเลื่อนขึ้นมาเป็นปี พ.ศ. 2558 ดังที่เราทราบกันในปัจจุบัน ทั้งนี่เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสถานการณ์โลก และตั้งเป้าว่าในปี พ.ศ. 2565 อาเซียนจะเป็นองค์กรที่ก้าวสู่เวทีโลกอย่างเต็มตัว

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3เสาหลัก หรือ 3ประชาคมย่อย คือ
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (AEC: ASEAN Political and Security Community)
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC: ASEAN Economic Community)
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (AEC: ASEAN Socio-Cultural Community)


Did you know?
หน่วยงานประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน คือ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีเลขาธิการอาเซียนที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียน หมุนเวียนการไปดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปีและไม่สามารถต่ออายุได้ การหมุนเวียนเป็นไปตามลำดับตัวอักษรของชื่อประเทศสมาชิก

ลักษณะของประชาคมแต่ละด้านเป็นอย่าไร
การสร้างประชาคมอาเซียน 3 ประชาคมย่อย มีการตั้งเป้าหมายและรูปแบบประชาคมไว้ดังนี้
APSC
-เป็นประชาคมที่มีกติกา มีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน
-เป็นประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคมีความเป็นเอกภาพ มีความสงบสุข มีความแข็งแกร่ง พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงในทุกมิติ โดยเน้นอาเซียนพึ่งพากลไกของตนเองมากขึ้น ในการแก้ไขปัญหาความท้าทายต่างๆในภูมิภาค
-เป็นประชาคมที่มีการขับเคลื่อนสร้างปฏิสัมพันธ์กับประชาคมโลก เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
ASCC
-การพัฒนามนุษย์
-การให้ความคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
-การให้สิธิและความยุติธรรมทางสังคม
-การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
-การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
-การลดช่องว่างในการพัฒนา
AEC
-ทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายทุนโดยเสรี
-ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
-ทำให้ประเทศสมาชิกมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
-ทำให้อาเซียนรวมตัวอยู่ในเศรษฐกิจโลก



Did you know?
อุตสาหกรรมผลิตสินค้าและบริการ ที่อาเซียนเปิดนำร่องให้เคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี และอยู่ภายใต้ตลาดและฐานการผลิตเดียวกันมี12สาขา โดยกำหนดประเทศผู้ประสานงานหลักไว้ด้วย คือ อินโดนีเซีย: ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ มาเลเซียผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมียนมาร์: ผลิตภัณฑ์เกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง ฟิลิปปินส์: อิเล็กทรอนิกส์ สิงคโปร์: เทคโนโลยีสารสนเทศ สุขภาพ ไทย: การท่องเที่ยว การบิน เวียดนามลอจิสติกส์(การขนส่ง)

รัฐบาลไทยเตรียมความพร้อมอย่างไรเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
         สิ่งที่รัฐบาลไทยกำลังเร่งรดทำ เพื่อให้เราปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น และทำให้เรารู้สึกมีส่วนร่วมในการเป็นพลเมืองอาเซียน เช่น
1.ตั้งหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องประชาคมอาเซียนโดยตรง
-กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศดูแลประชาคมการเมืองและความมั่นคง กับประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
-กระทรวงพาณิชย์ ดูแลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
2.สร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนและเยาวชน ด้วยบทเรียนและกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ในสื่อทุกแขนง
3.เตรียมในความพร้อมภาคเอกชนและแรงงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพให้พร้อมแข่งขันกับเพื่อนอาเซียน
ในฐานะคนไทยเราควรเตรียมตัวอย่างไร
1.เราต้องรู้จักตัวเองและเรียนรู้เพื่อนบ้าน โดยเฉพาะภูมิหลังและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ
2.เพิ่มทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ เพราะอาเซียนกำหนดให้เป็นภาษากลางของประชาคม
3.ต้องเข้าใจภาษา รู้กฎหมายทั่วไปและวัฒนธรรมของประเทศอาเซียนที่เราจะไปทำงานและถ้าจะไปทำธุรกิจ ต้องรู้กฎหมายเฉพาะ รวมทั้งระเบียบท้องถิ่นด้วย
4.ในฐานะเจ้าบ้าน เราต้องปฏิบัติต่อนักธุรกิจอาเซียนและแรงงานอาเซียน ที่มาทำงานบ้านเรา เสมือนปฏิบัติต่อคนไทยด้วยกัน
5.แรงงานไทยต้องพัฒนาไปเป็นแรงงานฝีมือ ให้เหนือกว่าแรงงานต่างด้าวที่เข้ามา เพื่อหนีภาวะว่างงาน
เมื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในประเทศไทย?
การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย สิ่งที่จะเป็นไปได้มีดังนี้
1.ไทยได้เปรียบด้านการท่องเที่ยว เพราะอยู่ในทำเลศูนย์กลางกว่าอีกหลายประเทศ
2.เศรษฐกิจไทยขยายตัว เพราะการเปิดเสรีด้านการค้า และประชากนอาเซียน 10 ประเทศรวมทั้งอาเซียน+3และอาเซียน+6รวมอยู่ในตลาดเดียวกัน
3.ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ จากการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีระหว่างกัน
4.มีความเจริญครอบคลุมมากขึ้น จากการพัฒนาถนนเชื่อมต่อในภูมิภาค
5.ราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคถูกลง จากการนำเข้าวัตถุดิบปลอดภาษี และการนำเข้าสินค้าเกษตรราคาถูกจากประเทศสมาชิก
6.ผู้ประกอบการไทยสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศสมาชิกที่มีค่าแรงถูกกว่าได้เพื่อลดต้นทุน
7.พลเมืองไทยที่อ่อนโดยภาษา จะหางานทำยากขึ้น
8.แรงงานต่างด้าวจะแย่งใช้บริการพื้นฐานต่างๆ กับคนไทย เช่นโรงพยาบาล ไฟฟ้า ประปา
9.มีปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น จากการเปิดด่านชายแดนที่เดินทางเข้าออกสะดวก และจากการไม่รู้ธรรมเนียมและกฎหมายไทย ของพลเมืองอาเซียนชาติอื่น

Did you know?
มีวิชาชีพ7สาขา ที่อาเซียนตกลงกันให้เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้อย่างเสรีในประชาคมอาเซียน คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี และนักสำรวจ โดยอาเซียนได้กำหนดคุณสมบัติร่วมของอาชีพเหล่านี้ไว้ด้วย ใครอยากไปทำงานในอาเซียน ก็ต้องเรียนสาขาเหล่านี้ไว้ก่อน




< /embed>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น